วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน

เอกสารแนวข้อสอบกรมราชทัณฑ์ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน

1.       ผู้ใดมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ในกรมราชทัณฑ์  
ก.      นายกรัฐมนตรี                                   ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 
ค.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์                           ง.  ปลัดกระทรวง 
คำตอบ  ค.  การบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง 
2.       ตำแหน่งที่มีคุณลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด จะต้องมีการสับเปลี่ยน ย้าย  โอน  เพราะห้ามปฏิบัติ 
หน้าที่เดียว ติดต่อกันเป็นเวลากี่ปี 
ก.      3  ปี                                                            ข.  4  ปี 
ค.      5  ปี                                                            ง.  6  ปี 
คำตอบ  ข.  ภายใต้บังคับมาตรา 57  วรรคหนึ่ง  และมาตรา 60  ให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่  ย้าย  หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 9  ระดับ 10  และระดับ 11  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด  โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า   4 ปี  อ.พิพัฒน์-อ.วันนรัตน์ 
3.       การโอนข้อใดถูกต้อง 
ก.      จะทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม 

ข.      แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม 

ค.      รับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าเดิม 
ง.       ถูกทุกข้อ 
คำตอบ  ง.  การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวง  ทบวง  กรม  อาจทำได้เมื่อมีผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม  โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม 
4.       ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน            

ก.      คุณภาพและปริมาณงาน 
ข.      ระยะเวลาการรับราชการ 
ค.      ความสามารถและความอุตสาหะในการทำงาน 
ง.       การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ 
คำตอบ  ข.  การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน  ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน  ตลอดจนการรักษาวินัย  การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ 
1.       การกระทำผิดวินัยในข้อใด  ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 
ก.      เปิดเผยความลับของทางราชการ 
ข.      รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา 
ค.      ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่  ข่มเหง  ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง 
ง.       ถูกทุกข้อ 
คำตอบ  ง.  กระทำผิดวินัย  ที่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงได้แก่ 
1)       การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ (มาตรา 82) 
2)       การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (มาตรา 84) 
3)       การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ (มาตรา 85) 
4)       การเปิดเผยความลับของทางราชการ (มาตรา 87) 
5)       การขัดคำสั่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 88) 
6)       การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (มาตรา 90) 
7)       การละทิ้งหรือทอดทิ้งราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร (มาตรา 92) 
8)               การดูหมิ่น  เหยียดหยาม  กดขี่  ข่มเหง  ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 94) 
9)       การกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (มาตรา 98) 
2.       ข้อใดไม่ใช่โทษสำหรับข้าราชการที่กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง 
ก.      ภาคทัณฑ์                                        ข.  ตัดเงินเดือน 
ค.      ลดขั้นเงินเดือน                                  ง.  ปลดออก       
คำตอบ  ง.  ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์  ตัดเงินเดือน  ลดขั้นเงินเดือน 
3.       การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก  สามารถยับยั้งได้ไม่เกินกี่วัน 
ก.      30  วัน                                             ข.  45  วัน 
ค.      60  วัน                                             ง.  90  วัน 
คำตอบ  ง.  กรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52  เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน  นับตั้งแต่วันที่ขอลาออกก็ได้ 
4.       ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งลงโทษตัดเงินเดือน นาย ก.  นาย ก. สามารถอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อ 
หน่วยงานใด 
ก.      อ.ก.พ. กรม                                      ข.  อ.ก.พ. จังหวัด 
ค.      อ.ก.พ. กระทรวง                                ง.  ก.พ. 
คำตอบ  ค.  การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวง 
5.       การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก  ข้อใดถูกต้อง 
ก.      อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน 
ข.      อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 30 วัน 
ค.      อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 15 วัน 
ง.       อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 15 วัน 
คำตอบ  ก.  การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก  หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง 

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน ใหม่ล่าสุด
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ
ประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับกรมราชทัณฑ์
- แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมราชทัณฑ์
- เเนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พศ. 2551
- ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
- แนวข้อสอบ พ. ร. บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา  พ.ศ.2506
แนวข้อสอบพระราบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา
แนวข้อสอบ พรบ.พระราชกฤษฎีกาบ้านเมืองที่ดี พศ.2546
- สรุป พรบ.วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พศ. 2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
- หลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
- แนวข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์
- สรุประเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องกักขัง พ.ศ.2549
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ 
สามารถนำไปปริ๊นเพื่ออ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท 
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ 
เลขที่บัญชี  512-2-05266-6 
ธ.กสิกรไทย สาขาย่อย เซ็นทรัลอุดรธานี 
ชื่อบัญชี พงษ์ศักดิ์ คำแก้ว ออมทรัพย์ 
โอนเงินแล้วแจ้งที่ pongsak86@gmail.com
สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 089-7101875 
ส่ง EMS ทางไปรษณีย์ เป็นหนังสือ + MP3  ราคา 679 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น